Leek
ยินดีต้อนรับสู่บทเรียนเกษตรออนไลน์ค่ะ

บทที่ 2



บทที่ 2
เรื่อง การจำแนกประเภทผัก

  การจำแนกพืชผัก เป็นตัวบ่งบอกให้เราทราบถึงลักษณะของพืชผักแต่ละชนิด โดยจัดแบ่งได้ดังนี้
1. การจำแนกทางพฤกษศาสตร์ เป็นการจำแนกตามความสัมพันธ์ทางตระกูลเดียวกันแบ่งได้ดังนี้
(วิเชษฐ์ ค้าสุวรรณ,2551:11)
- พืชใบเลี้ยงเดี่ยว ได้แก่ ข้าวโพดอ่อน หน่อไม้ฝรั่ง กุยช่าย กระเทียม หอมแดง ขิง
- พืชใบเลี้ยงคู่ ได้แก่ กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี คะน้า ผักกาดกวางตุ้ง ผักกาดขาวเว้นวรรคถั่วฝักยาว ผักบุ้ง ฯลฯ
2. การจำแนกผักตามอายุการเก็บเกี่ยว
- พืชผักฤดูเดียว (Annual crops) คือ พืชผักที่งอกจากเมล็ดและเจริญเติบโตให้ดอกผลและเมล็ดจนครบวงจรชีวิตแล้วตาย ในระยะเวลาไม่เกินหนึ่งฤดูกาล หรือหนึ่งปี เช่น ผักกาดต่างๆ คะน้า ผักสลัด ฯลฯ
- พืชผักสองฤดู (Biennial crops) คือ พืชผักที่มีอายุครบวงจรรอบหนึ่งในสองฤดูกาลหรือสองปีจึงออกดอก ฤดูแรกหรือปีแรกพืชมีการเจริญเติบโตทางกิ่ง ใบ ลำต้น ฤดูที่สองหรือปีที่สองจึงออกดอกและผลแล้วตาย เช่น พริก มะเขือ หอมหัวใหญ่ ฯลฯ
- พืชผักหลายฤดู (Parennial crops) คือ พืชผักที่มีอายุนานกว่าสองฤดูหรือสองปี หรือหลายปี ผักบางชนิดมีการเจริญเติบโตให้ผลผลิตครบวงจรภายในฤดูเดียวหรือปีเดียวก็ได้แต่ผักบางชนิดยังไม่ตายยังคง มีดอกออกผลในปีต่อๆไป เช่น หน่อไม้ฝรั่ง ชะอม ตำลึง ฯลฯ  (วิเชษฐ์ ค้าสุวรรณ,2551:12)
3. การจำแนกตามฤดูกาล
- พืชผักฤดูหนาว แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม
1. กลุ่มพืชผักที่ชอบอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 15.5-18.5 องศาเซลเซียส ได้แก่ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักกาดเขียวปลี ผักกาดหอม คะน้า แครอท ฯลฯ
2. กลุ่มผักที่ชอบอุณหภูมิ 12.5-24 องศาเซลเซียส ได้แก่ หน่อไม้ฝรั่ง หอมแดง หอมใหญ่ กระเทียม ฯลฯ
- พืชผักฤดูร้อนแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม
1. กลุ่มพืชที่งอกงามที่อุณหภูมิประมาณ 18.5-26 องศาเซลเซียส ได้แก่ แตงกวา ฟักทอง มะเขือเทศ
2. กลุ่มพืชที่เจริญงอกงามที่อุณหภูมิสูงกว่า 21 องศาเซลเซียส ได้แก่ หอมแบ่ง  ผักกาดเขียวปลี ผักบุ้ง ผักกาดหัว ข้าวโพด  (วิเชษฐ์ ค้าสุวรรณ,2551:12)


4. การจำแนกตามส่วนที่นำไปใช้ประโยชน์
- ใบและลำต้น   เช่น ผักคะน้า กะหล่ำปลี ผักสลัด ผักกาดต่างๆ หน่อไม้ฝรั่ง ฯลฯ
- เมล็ดและผล    เช่น มะเขือต่างๆ ถั่วต่างๆ
- ดอก            เช่น กะหล่ำดอก
- ส่วนที่อยู่ใต้ดิน เช่น ผักกาดหัว หอมแดง กระเทียม หอมหัวใหญ่ ฯลฯ
(วิเชษฐ์ ค้าสุวรรณ,2551:13)


5. การจำแนกประเภทสวนผัก
- สวนหลังบ้านหรือพืชผักสวนครัว เป็นการทำสวนผักเพื่อใช้พื้นที่เล็กน้อย เพื่อเก็บไว้รับประทานในครัวเรือน ส่วนที่เหลือจะนำเอาไปจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้เล็กๆน้อยๆเป็นงานอดิเรกเหมาะสำหรับพักผ่อนและออกกำลังกายเบาๆ หรือฝึกให้ลูกหลานรู้จักการทำงาน รักธรรมชาติและเป็นแหล่งผักสดปลอดสารพิษ
- การทำสวนผักเพื่อจำหน่ายตลาดท้องถิ่น เป็นการทำสวนผักเป็นอาชีพ ใช้พื้นที่ไม่มากนักเพื่อส่งขายตลาดท้องถิ่น การปลูกพืชผักที่ไม่ต้องคำนึงถึงสภาพดินฟ้าอากาศแต่อย่างไร แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการปลูกที่กระทำในฤดูกาลที่เหมาะสม
- การทำสวนผักเพื่อส่งตลาดขนาดใหญ่ เป็นการทำสวนผักอาชีพเพื่อส่งตลาดใหญ่ไกลๆ สวนผักประเภทนี้มักปลูกพืชเฉพาะอย่าง เช่น ปลูกกะหล่ำปลีอย่างเดียวหรือปลูกผักกาดอย่างเดียวพื้นที่ปลูกคำนึงถึงสภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม กับพืชผักโดยมากผลผลิตที่ได้จะถูกส่งไปยังตลาดกลางก่อนแล้วจึงกระจายไปสู่ตลาดปลายทางอีกทอดหนึ่ง
- การทำสวนผักเพื่อส่งโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูป การทำสวนผักประเภทนี้พื้นที่ปลูกได้อยู่ใกล้กับโรงงานอุตสาหกรรม พาพี่จะส่งจะเป็นภาพที่นำมาเป็นอาหารกระป๋อง หรือผักที่ปลูกเป็นไปตามความประสงค์ของโรงงานอุตสาหกรรม
- การทำสวนผักเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ พืชผักที่ปลูกอยู่ใช้เวลาในการดูแลมากกว่า การส่งผักขายสด เช่น ผักบุ้ง ผักชี คะน้า แตงกวา บวบ
- การทำสวนผักฟื้นฤดูกาลทำสวนผักเราฤดูกาล ซึ่งสภาพแวดล้อมไม่อำนวย อาจจะหนาวรู้ร้อนจนเกินไป หรือฝนตกมากเกินไป การปลูกผักประเภทนี้จะต้องลงทุน ใช้อุปกรณ์มากและทันสมัย
(วิเชษฐ์ ค้าสุวรรณ,2551:13-14)
6. การจำแนกสวนผักตามวิธีการปลูก
- วิธีการเพาะเมล็ดก่อนแล้วย้ายกล้า เหมาะสำหรับพืชผักที่มีเมล็ดขนาดเล็ก ราคาแพง เช่น หอมหัวใหญ่ ผักกาดขาวปลี กะหล่ำปลี กะหล่ำปม มะเขือเทศ พริกบางชนิด ผักเหล่านี้จำเป็นต้องเพราะกาก่อนแล้วจึงย้ายมาปู่หรือย้ายมาช้ำเมื่อขนาดโตพอสมควรจึงย้ายมาปลูก
- วิธีการว่านเมล็ดลงแปลงปลูก พืชผักชนิดมีอายุการเก็บเกี่ยวจะสั้นโตเร็วมันริทหาซื้อง่ายราคาถูก เช่น ผักบุ้ง ผักชี คะน้า ผักกาดหัว ผักกาดเขียวปลี ผักกาดเขียวกวางตุ้ง ผักที่วานเมล็ดลงแปลงต้องรอให้ต้นแตกใบจริงสองถึงสามใบแล้วจึงถอนแยกเหลือไว้ในแปลงให้ระยะปลูกพอดีกับชนิดผักที่ปลูกแล้วบำรุงดูแลจนเจริญเติบโต
- วิธีการใช้ส่วนต่างๆปลูกพืชผักที่ไร้หัว ต้น การปลูกในวัสดุเพราะหรือปลูกลงแปลงจะต้องให้การปฏิบัติดูแลอย่างดีเพราะผักบางชนิดจะติดโรคได้ง่าย เช่น หอมแดง กระเทียม ฯลฯ
(วิเชษฐ์ ค้าสุวรรณ,2551:15-16)










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น