เรื่อง
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืชและการเลือกพื้นที่ปลูกพืชผัก
|
1. ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชผัก
|
1.1
ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม (Genetic
Factor)
1.2
ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Factor)
(วิเชษฐ์ ค้าสุวรรณ,2551:18)
ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม (Genetic
Factor)
เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชผักที่ถูกควบคุมโดยยีน (Gene)
ที่ถ่ายทอดลักษณะต่างๆจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน เช่น ลักษณะของสี ดอก
ใบ ลำต้น ผล
ตลอดจนการให้ผลผลิตและคุณภาพเช่นการปลูกพืชผักชนิดเดียวกันและสภาพแวดล้อมที่เหมือนกัน
แต่ความสามารถในการเจริญเติบโต
การให้ผลผลิตแตกต่างกัน ซึ่งเป็นผลมาจากยีน
เป็นตัวควบคุมการเปลี่ยนแปลงโดยมากจะเกิดจากการผสมเกสรเมื่อเป็นเช่นนี้มนุษย์จึงได้พัฒนาปรับปรุงพันธุ์ให้มีพันธุ์พืชชนิดใหม่ๆเกิดขึ้น
มีคุณภาพอยู่เสมอ
ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม
(Environmental
Factor)
เป็นปัจจัยที่อยู่รอบๆ มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชผัก ได้แก่
1. ดิน (soil) ดินที่เหมาะกับการปลูกพืชผัก ควรมีชั้นหน้าดินลึก อุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำได้ดี เนื้อดินร่วนซุย มีค่าpH 6.5 - 7 ซึ่งเป็นสภาพทางเคมีของดินที่ทำให้แร่ธาตุอาหารของพืชละลายน้ำได้ดี คือสามารถดูดและนำไปใช้ประโยชน์ได้มาก
2. อากาศ
(Air) ก๊าซ ที่จำเป็นต่อพืชมีอยู่ทั่วๆไปในชั้นบรรยากาศและในดิน
ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืชผัก ได้แก่
2.1
ออกซิเจน ถ้ามีอยู่ในดินน้อยจะทำให้ระบบรากไม่แข็งแรงและเจริญเติบโตดูดน้ำและแร่ธาตุได้น้อยพืชผักจะโตช้า
2.2
ไนโตรเจน ก๊าซ ชนิดนี้จะละลายน้ำได้
จะเป็นธาตุอาหารที่มีประโยชน์โดยพืชผักจะนำไปใช้ในรูปของยูเรียและแอมโมเนียมซัลเฟต
ช่วยสร้างความเจริญเติบโตในส่วนใบและลำต้น
3. น้ำและความชื้น
(Water
and Humidity)
น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการปลูกพืชผัก
ซึ่งจะขาดไม่ได้ดังนั้นผู้ปลูกพืชผักต้องเตรียมแหล่งน้ำ
ให้เพียงพอต่อการดำรงชีวิตของพืชผัก
ถ้าผักได้รับน้ำไม่เพียงพอออจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง
ถ้าขาดน้ำอย่างรุนแรงพืชผักจะตาย พืชผักส่วนใหญ่ได้รับน้ำในรูปความชื้น
ของดีมแต่ก็มีพืชผักบางชนิดได้รับน้ำในรูปแบบของน้ำจากน้ำโดยตรง เช่น ผักบุ้งไทย
ผักกระเฉด ผักแว่น เป็นต้น
4.
อุณหภูมิ (Temperature) อุณหภูมิในชั้นบรรยากาศเป็นตัวควบคุมอุณหภูมิในต้นพืชซึ่งมีผลต่อกระบวนการพืช
คือกระบวนการสังเคราะห์แสง กระบวนการหายใจ กระบวนการคายน้ำ
และกระบวนการดูดซึมของพืช
ถ้าอุณหภูมิในบรรยากาศเหมาะสมกระบวนการต่างๆจะดำเนินไปอย่างปกติถ้าอุณหภูมิลดลงหรือสูงขึ้นมากๆจะทำให้อัตราการเจริญเติบโตของพืชหยุดชะงัก
5. แสง
(Light)
แสงสว่างจากดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต
ทุกชนิดเพราะเป็นตัวควบคุมสภาพแวดล้อมที่สำคัญ ได้แก่ อุณหภูมิ ลม ฝน
เพื่อใช้แสงสว่างเป็นวัตถุดิบในการสังเคราะห์แสง เพื่อสร้างน้ำตาลและแป้ง
พฤตินัยรับความเข้มของแสงที่พอเหมาะจะสร้างแป้งและน้ำตาลได้มาก
(วิเชษฐ์
ค้าสุวรรณ,2551:18-22)
2.
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกพืชผัก
|
2.1
สภาพพื้นที่ปลูก
2.1.1
ความลาดเอียงของพื้นที่ การทำสวนผักควรมีความลาดเอียงเล็กน้อย
เพื่อให้ระบายน้ำได้ดี
ถ้าพื้นที่ไม่มีความลาดเอียงควรยกแปลงปลูกให้สูงกว่าระดับพื้นพอสมควรถ้าพื้นที่ลาดเอียงมากควรยกแปลงปลูกแบบขั้นบันได
2.1.2 ขนาดของพื้นที่ปลูก เพื่อปลูกผักเป็นอาชีพควรมีบริเวณพื้นที่กว้าง
2.1.3
ลักษณะของเนื้อดิน การปลูกพืชผักดินต้องมีความอุดมสมบูรณ์ มีการระบายน้ำและอากาศดี
มีอินทรียวัตถุสูง เนื้อดินร่วนซุย ไม่มีเม็ดทรายมากเกินไป
2.1.4
สถานที่ตั้ง
เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานและขนส่งผลผลิตออกสู่ตลาดสิ่งที่ควรพิจารณา ได้แก่
มีเส้นทางคมนาคมสะดวก อยู่ใกล้ตลาด และเพื่อนบ้านนิสัยดี
2.2
สภาพแหล่งน้ำ
2.2.1
น้ำฝน
เป็นแหล่งน้ำที่เกิดจากธรรมชาติที่สำคัญที่สุด เช่น ห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำ สระน้ำ
แหล่งน้ำดังกล่าวจะมีแร่ธาตุอาหารพืชที่ถูกชะล้างพัดพามา
ซึ่งมีประโยชน์มากกว่าน้ำฝนที่ตกลงแปลงโดยตรง
2.2.2
น้ำบาดาล
เป็นแหล่งน้ำที่นำมาใช้ประโยชน์ค่อนข้างน้อย เพราะมีปริมาณเกลือและต้องลงทุนสูง
ไม่สะดวก สิ้นเปลืองแรงงาน
2.2.3
น้ำประปา
เป็นแหล่งน้ำที่ได้รับความนิยมน้อยมากในการทำสวนผักเพราะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและไม่มีธาตุอาหาร
2.3
สภาพภูมิอากาศ
ต้องเหมาะสมกับชนิดของพืชผักที่จะปลูก
พวกผักแต่ละชนิดต้องการสภาพพูมิอากาศแตกต่างกัน บางชนิดชอบอากาศเย็น เช่น สระบุรี
บางชนิดเจริญเติบโตได้ทุกสภาพอากาศ เช่น ผักบุ้ง แต่
พืชส่วนใหญ่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศที่เย็น ซึ่งองค์ประกอบของอากาศ ได้แก่
อุณหภูมิ และความชื้น
2.4
ปริมาณแสง
ปริมาณแสงที่ได้รับมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชผักที่ปลูก คือ
2.4.1
พื้นที่ที่ไม่ได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน
พืชผักที่ปลูกควรเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในที่ร่มเงาได้ เช่น สาระแน โหระพา
กระเพา ขิง ข่า กระชาย ตะไคร้ ฯลฯ
2.4.2
พื้นที่ที่ได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน พืชผักที่ปลูกมันเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ในที่มีแสงปกติ
เช่น ผักกาดต่างๆ คะน้า ถั่วฝักยาว พริก มะเขือ ผักบุ้ง ฯลฯ
2.5
ฤดูกาล
2.5.1
ฤดูฝน
เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน-ตุลาคมปริมาณน้ำฝนมาก
ช่วงแสวแต่ละวันจะยาวความชื้นอากาศ พืชผักที่เหมาะปลูกในฤดู ได้แก่ ผักบุ้ง คะน้า
ถั่วฝักยาว บวบ มะเขือ ฯลฯ
2.5.2
ฤดูหนาว
เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีกุมภาพันธ์ ช่วงแสงแต่ละวันจะสั้น ความชื้นในอากาศต่ำ
ลมพัดแรง พืชผักที่เหมาะปลูกในฤดูนี้ ได้แก่ กะหล่ำปลี ผักกาดต่างๆ ผักชี มะระ ฯลฯ
2.5.3
ฤดูร้อน
เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม-พฤษภาคม ฤดูนี้ฝนตกบ้างประปราย ช่วงสายมาแต่ละวันยาว
อากาศร้อน ความชื้นในอากาศปานกลาง พืชผักที่เหมาะปลูกในฤดูนี้ ได้แก่ ผักบุ้ง
หอมแดง แตงกวามะเขือต่างๆ พริกต่างๆ ฟักทอง บวบ ฯลฯ
(วิเชษฐ์
ค้าสุวรรณ,2551:23-26)
3.1.1 เขตตลิ่งชัน เขตบางขุนเทียน
กรุงเทพฯ
3.1.2 อำเภอบางบัวทอง อำเภอบางกรวย
จังหวัดนนทบุรี
3.1.3 อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
3.1.4 อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
3.1.5 อำเภอลาดบัวหลวง อำเภอเสนา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
3.1.6 จังหวัดกาญจนบุรี
3.2
ภาคเหนือ ได้แก่
3.2.1 จังหวัดเชียงใหม่
3.2.2 จังหวัดลำพูน
3.2.3 จังหวัดลำปาง
3.2.4 จังหวัดแพร่
3.2.5 จังหวัดน่าน
3.3
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่
3.3.1 จังหวัดนครราชสีมา
3.3.2 จังหวัดมหาสารคาม
3.3.3 จังหวัดอุบลราชธานี
3.3.4 จังหวัดหนองคาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น